รากฟันเทียมโยก อันตรายหรือไม่
รากฟันเทียมโยก ขณะใส่รากเทียมไปได้สักระยะหนึ่ง หรือหลังใส่รากเทียมได้ไม่นาน เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นอันตรายหรือไม่
รากฟันเทียมโยก เกิดขึ้นได้อย่างไร
อายุการใช้งานของรากเทียม หากคนไข้มีการดูแลรักษาตามคำแนะนำจากทันตแพทย์ แน่นอนว่าอายุการใช้งานของรากเทียมสามารถใช้งานอย่างน้อย 30 – 40 ปี แต่การเสื่อมสภาพไปจนถึงเกิดความเสียหาย เช่น การเกิดรากฟันเทียมโยก สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดการระมัดระวัง อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า การใส่รากเทียมนั้น เป็นการที่มีฟันปลอมภายในช่องปาก เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่ได้สูญเสียไป ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ภายในช่องปากหรือภายในร่างกายของเราก็มีความจำเป็นต้องทำการตรวจสอบสภาพของรากเทียมอย่างต่อเนื่องว่าพร้อมการใช้งานหรือไม่ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์ทำการนัดคนไข้ในแต่ละครั้ง โดยระยะเวลาที่ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อเช็กสภาพรากเทียมส่วนใหญ่ คือ ทุกๆ 6 เดือน หรืออาจจะเร็วกว่านั้นหากคนไข้อยู่ในอาการที่เฝ้าระวัง แต่ในทางกลับกันถ้าคนไข้ขณะใส่รากเทียมอยู่และสังเกตอาการของตนเองได้ว่า รากเทียมมีปัญหา หรือรากเทียมโยกขณะรับประทานอาหาร นั้น เกิดขึ้นจากอะไร
- รับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หลังทำรากเทียมในระยะแรก หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารลักษณะดังกล่าวเป็นประจำตลอดระยะเวลาการใส่รากเทียม
- ใช้งานผิดประเภท เช่น ใช้ฟันขบ เคี้ยว กัด บริเวณที่ฝังรากเทียม เนื่องจากได้รับแรงกระแทกเกินกว่าแรงบดเคี้ยวผิดธรรมชาติ ทำให้กระดูกเกิดการละลาย ส่งผลให้รากเทียมหลวม
- ฟันธรรมชาติที่อยู่ใกล้บริเวณทำรากเทียมเกิดการผุ แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อฟันซี่ด้านข้างหรือบริเวณโดยรอบได้หากมีการติดเชื้อลงถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เหงือกและฟันบริเวณรอบรากเทียมร่นลงได้เช่นกัน
- เหงือกอักเสบ จากการปล่อยให้คราบหินปูนเกาะบริเวณรากเทียมเป็นจำนวนมาก ซึ่งการทำรากเทียมอาจหมดข้อกังวลในเรื่องของฟันผุ เนื่องจากฟันที่ครอบกับรากเทียมนั้นไม่ใช่ฟันธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่าหินปูนจะหายไปจากบริเวณที่ทำรากเทียมได้หากไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง คราบหินปูนสามารถเกาะและสะสมที่รากเทียมได้โดยตรงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เหงือกอักเสบและส่งผลต่อการทำให้รากเทียมโยกเมื่อเหงือกมีสภาพที่อ่อนแอ
รากฟันเทียมโยก จะไม่เกิดขึ้นและอยู่กับคุณได้ตลอดชีวิต เพียงแต่ต้องดูแลให้เหมือนการดูแลฟันธรรมชาติ
เรื่องหลักๆ ที่คนไข้ควรดูแลเมื่อได้เข้ารับการรักษาด้วยการทำรากเทียม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา รากฟันเทียมโยก มีเพียง 2 ข้อเท่านั้น คือ
ดูแลรักษาทำความสะอาดรากเทียม โดยให้ความสำคัญเท่าๆ กับการดูแลฟันธรรมชาติ ให้มีการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง นอกเหนือจากการแปรงฟัน เพื่อความสะอาดที่มากขึ้นก็สามารถใช้น้ำยาบ้วนปากและไหมขัดฟัน ซึ่งอาจจะยากสำหรับการใช้ระหว่างบริเวณที่ทำรากเทียมกับฟันธรรมชาติในระยะแรก แต่ก็ไม่ควรละเว้น เพื่อไม่ให้มีเศษอาหารติดค้างซอกฟันที่เป็นต้นเหตุของปัญหาที่ได้กล่าวไปข้างต้น รวมถึงระวังเรื่องการใช้งานระหว่างการบดเคี้ยวและไม่ควรใช้แรงกัดหนักๆ บริเวณที่ทำรากเทียม เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียม และรักษาฟันธรรมชาติให้คงอยู่ไม่ให้สูญเสียฟันไปก่อนเวลาอันควร
ควรเข้ารับการดูแลจากทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรผิดนัดเพราะเพียงคิดว่ารากเทียมยังปกติดีอยู่ เพราะอาจสายเกินไปหากเข้าพบทันตแพทย์ในวันที่รากเทียมเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงแล้ว เพราะสิ่งที่คนไข้ต้องเสียไม่ใช่แค่เพียงรากเทียมเท่านั้น แต่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น หากเป็นเคสแก้ไขเพื่อบูรณะซ่อมแซมรากเทียมที่เสียหาย รวมถึงการรักษาด้านอื่นเพิ่มเติมที่อยู่ในเคสที่ยากและมีความซับซ้อนกว่าเดิม และแน่นอนว่าต้องเจ็บตัวซ้ำซ้อนด้วยเช่นกันถ้ารากเทียมเกิดความเสียหายหรือสภาพเหงือกและกระดูกไม่สามารถรองรับรากเทียมไว้ได้แล้ว จึงต้องเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกกระดูกให้มีความหนาแน่นเพียงพอที่จะใส่รากเทียมได้ใหม่ในครั้งต่อไป