รากเทียมในผู้สูงอายุ ดีอย่างไร?
การทำ รากฟันเทียมในผู้สูงอายุ หนึ่งวิธีที่ดีที่ช่วยทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อให้คุณกลับมาใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง
รากฟันเทียมในผู้สูงอายุ คืออะไร ?
รากฟันเทียม ( Dental Implant ) เป็นวัสดุที่ทำจากไทเทเนียม รูปร่างคล้ายสกรูหรือน็อต ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร ตรงกับตำแหน่งฟันเดิมที่สูญเสียไป ทำหน้าที่ช่วยยึดฟันปลอมหรือครอบฟันให้ติดอยู่กับเหงือกเสมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยรากฟันเทียมจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก ( Screw )
- ส่วนที่ยึดระหว่างรากฟันเทียมและครอบฟัน ( Abutment )
- ส่วนของฟันปลอม ( Crown )
การทำรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ แบ่งได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ รากฟันเทียมบางซี่ และรากฟันเทียมทั้งปาก ซึ่งรากฟันเทียมมีทั้งหมด 3 ชนิด จะต้องทำแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของคนไข้แต่ละคน และดุลพินิจของทันตแพทย์
- Conventional implant หลังฝังรากฟันเทียมจะต้องรอให้กระดูกยึดกับรากเทียมก่อน ประมาณ 3 – 4 เดือน แล้วจึงทำฟันปลอมยึดกับรากเทียมได้ ถือเป็นชนิดที่มีข้อจำกัดในการรักษาน้อย แต่หากในกรณีที่คนไข้มีกระดูกขากรรไกรบางกว่าปกติ ทันตแพทย์จะมีการนำเทคนิคการปลูกกระดูกมาช่วยก่อนทำการฝังรากเทียม
- Immediate Implant การฝังรากเทียมทันทีหลังถอนฟันแท้ออกทันที ในบางกรณีสามารถใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันบนรากเทียมได้เลยหลังฝังรากเทียม เป็นชนิดที่เหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรสมบรูณ์
- Immediate Loaded Implant การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม เช่น การครอบฟันแบบชั่วคราวหรือถาวรไปที่รากฟันเทียมทันทีหลังฝังเสร็จ เป็นอีกชนิดที่เหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรสมบรูณ์
รากฟันเทียมในผู้สูงอายุดีกว่าฟันปลอมแบบอื่นอย่างไร
ถึงแม้การทำรากฟันเทียมในผู้สูงอายุจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ก็ถือเป็นการลงทุนเพื่อตัวเองที่คุ้มค่าไม่ใช่น้อย ด้วยข้อดีเหล่านี้
- ดูเป็นธรรมชาติ จึงเพิ่มความมั่นใจ และบุคลิกภาพที่ดีให้คุณได้
- สามารถใช้งานได้ใกล้เคียงฟันจริง ทำให้บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความคงทน อายุการใช้งานนาน ฟันปลอมกระชับ ติดแน่น ไม่หลุด และไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
- ไม่ต้องกังวลกับปัญหาฟันปลอมขยับ ซึ่งส่งผลกระทบเวลาพูดคุย ออกเสียง และรับประทานอาหาร
- ป้องกันปัญหาฟันล้มเอียง หรือสูญเสียฟันซี่ข้างเคียง และฟันคู่สบยื่นลงมาหาช่องว่างฟัน
- รากฟันเทียมในผู้สูงอายุ ช่วยลดปัญหาการละลายตัวของกระดูกขากรรไกร
- เป็นมิตรกับช่องปาก ต่างจากฟันปลอมแบบอื่น ที่อาจทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกไม่สบาย เจ็บเหงือก หรือร้อนในเวลาใส่
รากฟันเทียมในผู้สูงอายุ จึงเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูญเสียฟันได้มากกว่าการทำฟันปลอมแบบอื่น
การดูแลรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ
โดยปกติ ผู้สูญเสียฟันส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพรุมเร้า เนื่องจากระบบภายในร่างกายเสื่อมสภาพไปตามอายุขัย ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่พบ คือ ช่องปากและฟัน ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุ ฟันสึก โรคเหงือกอักเสบ เป็นต้น ล้วนแต่เป็นต้นเหตุหนึ่งของการสูญเสียฟันทั้งสิ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการสูญเสียฟัน เช่น ฟันล้ม การบดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ภาวะเบื่ออาหาร การขาดสารอาหาร เป็นต้น การทำรากฟันเทียมจึงเป็นหนทางที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
โดยในการดูแลรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ ก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพราะฟันปลอมยึดติดกับรากเทียมโดยไม่เลื่อนหลุด จึงสามารถทำความสะอาดได้เหมือนฟันธรรมชาติ โดยต้องแปรงฟันอย่างน้อย 2 เวลา ตอนเช้าและก่อนนอนเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการทานอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไปในช่วง 1 – 2 เดือนแรกหลังทำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอย่าลืมพบทันตแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางรายก็ไม่สามารถทำรากฟันเทียมได้ หรืออาจมีโอกาสล้มเหลวสูง เนื่องจากคนไข้มีภาวะกระดูกพรุน เบาหวาน โรคปริทันต์อักเสบรุนแรง โรคมะเร็งที่ต้องฉายแสง หรือมีปัญหาตำแหน่งกระดูกไม่เหมาะที่จะฝังรากฟันเทียม คนไข้จึงต้องแจ้งเกี่ยวกับโรคประจำตัวโดยละเอียดให้ทันตแพทย์ได้รับรู้ เพื่อจะได้ประเมินและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
อย่าปล่อยให้การสูญเสียฟันสร้างปัญหาให้กับชีวิตคุณ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และบุคลิกภาพที่ดี ด้วยการทำรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ เพื่อทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป ได้ที่ BFC Dental ทุกสาขา