“ฟันแท้ใช้งานไม่ได้เพราะฟันสึก” รากฟันเทียมทั้งปาก อาจเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ

รากฟันเทียมทั้งปาก อาจเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ? การมีฟันแท้ที่แข็งแรงไม่ใช่เพียงเรื่องของความมั่นใจในรอยยิ้ม แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวม อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ประสบปัญหาฟันสึกหลออย่างรุนแรงจนไม่สามารถใช้งานฟันแท้ได้ หรือเกิดการติดเชื้อในกระดูกขากรรไกร การรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุดอาจเป็นการทำรากฟันเทียมทั้งปาก

รากฟันเทียมทั้งปาก ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บฟันแท้ไว้ได้

เคสทำรากเทียมทั้งปากที่ BFC Dental เคสนี้ ฟันแท้ของคนไข้ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว เพราะปัญหาฟันสึกหลออย่างรุนแรง มีตอฟันและรากฟันที่หลงเหลืออยู่ รวมทั้งมีการติดเชื้อในขากรรไกรบนและล่าง ทันตแพทย์จึงจำเป็นต้องถอนฟันแท้ที่มีอยู่ออกก่อน แล้วจึงทำการรักษาด้วยรากเทียมทั้งปาก

  1. ปัญหาฟันสึกหลอรุนแรง : ฟันสึกหลอ คือปัญหาที่เกิดจากการเสียดสีของฟันเป็นเวลานาน เช่น การกัดฟันระหว่างนอนหลับ การบดเคี้ยวอาหารแข็ง หรือแม้กระทั่งการแปรงฟันผิดวิธี ส่งผลให้ฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟันด้านใน ทำให้ฟันไม่สามารถบดเคียวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจเสี่ยงต่อการแตกหักได้
  2. ตอฟันและรากฟันที่เสื่อมสภาพ : ในคนไข้บางรายที่ฟันถูกทำลายจนเหลือเพียงตอฟันหรือรากฟันที่ไม่สามารถรองรับการใช้งานได้อีกต่อไป อาจต้องถอนฟันทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจลุกลาม
  3. การติดเชื้อในขากรรไกร : การติดเชื้อในกระดูกขากรรไกรบนและล่างเป็นอีกหนึ่งปัญหาร้ายแรงที่ทำให้ฟันแท้ไม่สามารถใช้งานได้ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนไข้ จนอาจทำให้การฟื้นฟูฟันเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น

รากฟันเทียมทั้งปาก รากฟันเทียมทั้งปาก

รากฟันเทียมทั้งปาก

การรักษาด้วยรากเทียมทั้งปากระบบดิจิทัล

สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากการรักษาด้วย รากฟันเทียมทั้งปากระบบดิจิทัล เป็นวิธีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีขั้นตอนการรักษาที่ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของคนไข้ ดังนี้

  1. การเตรียมการรักษา
  • ถอนฟันแท้ที่ไม่สามารถใช้งานได้ ทันตแพทย์จะทำการถอนฟันทั้งหมดที่เสื่อมสภาพจนไม่สามารถบูรณะได้แล้ว เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากฟันเทียมทั้งปาก
  • การสแกนช่องปากแบบดิจิทัล และเอกซเรย์ระบบดิจิตอลสามมิติ เพื่อเก็บข้อมูลโครงสร้างฟันและกระดูกขากรรไกร
  1. การวางแผนการรักษาแบบดิจิทัล

ข้อมูลที่ได้จากการสแกนและเอกซเรย์ช่องปากจะถูกส่งไปยังระบบ Computer Guided Planning เพื่อกำหนดตำแหน่งของรากฟันเทียมอย่างแม่นยำ ลดความเสี่ยงจากการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรักษา อีกทั้งมีความแม่นยำมากจนสามารถออกแบบสะพานฟันชั่วคราวที่จะใช้ยึดกับรากฟันเทียมมาได้เลย

  1. การฝังรากเทียมและใส่ฟัน

ในกรณีที่กระดูกขากรรไกรของผู้ป่วยมีความแข็งแรงเพียงพอ ทันตแพทย์สามารถใส่สะพานฟันชั่วคราวที่ยึดติดกับรากฟันเทียมได้ทันทีหลังการผ่าตัด โดยกระบวนการนี้ช่วยลดระยะเวลาการรักษาและเพิ่มความมั่นใจให้กับคนไข้

ในเคสตัวอย่างนี้ หลังจากทันตแพทย์ถอนฟันแท้ที่มีอยู่ออกแล้ว จะทำการฝังรากเทียมทั้งหมด 4 ตัวในขากรรไกรบน (ฟันบน) และอีก 4 ตัวในขากรรไกรล่าง (ฟันล่าง) พร้อมใส่สะพานวัสดุอะคริลิก (PMMA) แบบติดแน่นบนรากฟันเทียม โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้มาเปลี่ยนเป็นสะพานเซรามิก (Zirconia) หลังจากฝังรากเทียมยึดติดแน่นกับกระดูกแล้ว ภายในระยะเวลา 4-6 เดือน เพื่อความสวยงามและความทนทานที่ดียิ่งขึ้น

รากเทียมทั้งปาก คำตอบที่ใช่สำหรับคุณ

หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาฟันสึกหลอรุนแรง หรือฟันแท้ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป รากฟันเทียมทั้งปากระบบดิจิทัล อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ความแม่นยำในการรักษา และระยะเวลาที่รวดเร็ว คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ พร้อมรอยยิ้มที่สวยงามในแบบที่คุณต้องการ

ปีใหม่นี้ หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลงสุขภาพฟันและคุณภาพชีวิต ลองพิจารณาการรักษาด้วยรากเทียมทั้งปากที่ BFC Dental แล้วคุณจะพบว่าการกลับมามีฟันที่แข็งแรงและมั่นใจในรอยยิ้มของตัวเองไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.