ฝังรากเทียม และใส่ฟันภายใน 1 ชั่วโมง

 

ตัวอย่างเคสถอนฟันและใส่ครอบชั่วคราวภายใน 1 ชั่วโมง (Immediate Loading)

ฝังรากเทียม

 

ฝังรากเทียม

กรณีตัวอย่างของทั้ง 2 เคสด้านบนเป็นเคสของคนไข้ที่ทำการถอนฟันก่อนทำการฝังรากเทียมพร้อมกับใส่ครอบชั่วคราวภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง เนื่องจากในกรณีเคสนี้เป็นการทำรากเทียมที่ฟันหน้าซึ่งเป็นบริเวณที่มีความต้องการของความสวยงามสูงเพราะหากถอนฟันแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ฟันหลอจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการใส่ฟันทันที ซึ่งทั้งเคสที่ 1 และ 2 ด้านบนนั้นคนไข้ได้ประสบอุบัติเหตุเลยทำให้ฟันเกิดการแตกหัก โดยทั้งสองเคสนี้ได้ทำการรักษาโดยการถอนฟันแท้และฝังรากเทียมพร้อมใส่ครอบชั่วคราวทันทีในครั้งเดียว

 

ฝังรากเทียม

ในส่วนของกรณีเคสที่ 3 คนไข้เคยทำการรักษารากฟันและมีการทำครอบฟันมาก่อนแล้วแต่เนื่องจากมีการติดเชื้อซ้ำที่ปลายรากอีกครั้งรวมไปถึงมีอาการรากฟันแตกอีกด้วย ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำการรักษารากฟันอีกครั้งได้คนไข้เลยตัดสินใจที่จะวางแผนทำรากเทียมเพื่อทดแทนฟันซี่ที่มีปัญหาโดยในกรณีเคสนี้เริ่มจากการถอนฟันแท้ออกก่อนหลังจากนั้นจึงวางแผนทำการใส่รากเทียมรวมไปถึงการมีฟัน (ครอบฟันชั่วคราว)กลับบ้านทันทีภายในการรักษาครั้งเดียวเช่นกัน

ตัวอย่างขั้นตอนและรายละเอียดการใส่รากเทียม และใส่ฟันภายใน 1 ชั่วโมงอย่างละเอียด

ฝังรากเทียม

Figure 1:

คนไข้มีปัญหาฟันแตกซึ่งมีสาเหตุจากการเคี้ยวของแข็ง อันดับแรกจะต้องทำการถ่ายเอกซเรย์ 3 มิติ หรือ CT Scan เพื่อประเมิณสภาพฟัน และกระดูก เมื่อดูจากภาพถ่ายเอกซเรย์ทำให้พบว่าฟันเกิดการแตกหักระหว่างตัวรากฟันและส่วนตัวฟันนอกจากนั้นพบการติดเชื้อรุกรามไปถึงปลายรากของฟันอีกด้วย ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาพที่เห็นเป็นลักษณะเงาสีดำตรงปลายของรากฟันเมื่อหลังจากการตรวจและวินิจฉัยแล้วพบว่าคนไข้มีกระดูกเพียงพอที่จะสามารถใส่รากเทียมและใส่ฟันไปพร้อมกันได้เลยทันที

Figure 2:

เมื่อทำการเอกซเรย์และวางแผนการรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มทำการรักษาโดยการผ่าตัดซึ่งในกรณีนี้จะทำการถอนฟันที่แตกหักออกก่อนอย่างระมัดระวัง โดยหากดูจากภาพจะพบว่าตัวฟันและรากฟันได้มีการแตกหักเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน

Figure 3:

หลังจากทำการถอนฟันที่แตกหักออกจึงจะเริ่มทำการทำการฝังรากเทียมและเติมกระดูกในตำแหน่งที่มีช่องว่าง เนื่องจากว่าในเคสที่มีการถอนฟัน และใส่รากเทียมมักจะมีช่องว่างเสมอเนื่องจากขนาดของรากเทียมจะมีขนาดเล็กกว่าฟันแท้ที่ถูกถอนไป จึงต้องมีการเติมกระดูกก่อนซึ่งจะช่วยทำให้ลักษณะของเหงือกมีความโค้งนูนเหมือนฟันธรรมชาติข้างเคียงอย่างสวยงาม

ฝังรากเทียม

Figure 4:

หลังจากฝังรากเทียมเสร็จในขั้นตอนต่อไปคือการใส่ครอบฟันชั่วคราวและทำการเย็บแผล โดยครอบชั่วคราวที่ใส่ไปมีการแนะนำคนไข้ให้หลีกเลี่ยงการเคี้ยวที่บริเวณฟันหน้าหรือบริเวณฟันที่ได้ทำการฝังรากเทียมเนื่องจากว่ารากเทียมยังไม่มีความแข็งแรง 100 % โดยปกติการทำรากเทียมจะเกิดภาวะที่เรียกว่า osteointegration หรือเป็นภาวะที่กระดูกเชื่อมประสานกับรากฟันเทียมเป็นเนื้อเดียวโดยปกติจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน

Figure 5:

ขั้นตอนต่อไปหลังจากมีการรอระยะเวลาประมาณ 2 เดือนครบแล้วเพื่อให้รากเทียมสมานกับกระดูกแล้วนั้นต่อไปจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำครอบฟันตัวจริงโดยอันดับแรกจะทำการถอดครอบชั่วคราวออกก่อน และจึงต่อแท่งสีขาวที่เรียกว่า scan body พร้อมทำการแสกนโดยใช้เครื่องสแกนฟันแบบดิจิทัลหรือเรียกว่า intraoral scanner ซึ่งในส่วนของตัว scan body จะทำหน้าเป็นตัวบอกตำแหน่งของรากเทียมให้กับทาง lab เพื่อผลิตครอบฟันจริงโดยจะสามารถช่วยทำให้ผลิตครอบฟันจริงให้สัมพันธ์กับตำแหน่งฟันที่ทำการฝังรากเทียมได้

 

ฝังรากเทียม

Figure 6:

หลังจากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วันในการผลิตครอบฟันตัวจริง ซึ่งวัสดุสำหรับครอบตัวจริงจะทำมาจาก monolithic zirconia ที่มีคุณสมบัติความแข็งแรงสูงโดยก่อนการใส่ครอบฟันจะต้องมีการใส่ตัว abutment หรือตัวยึดต่อระหว่างรากเทียมและครอบฟันเพื่อช่วยให้ครอบฟันสามารถยึดอยู่ได้ โดยวัสดุที่ใช้จะเรียกว่า zirconia coping ซึ่งจะมีลักษณะสีขาว

Figure 7:

เมื่อได้ทำการใส่ตัวยึดต่อระหว่างรากเทียมและครอบฟันหรือ abutment เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นจะทำการยึดครอบฟันด้วยกาวที่มีคุณสมบัติการยึดแน่นสูงที่เรียกว่า resin cement ซึ่งจะช่วยทำให้ครอบของเราติดแน่นได้อย่างดี และหากดูจากภาพถ่ายเอกซเรย์ 3 มิติ (CT Scan) เราจะพบได้ว่าตำแหน่งของรากเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และสัมพันธ์กับตำแหน่งของกระดูกอย่างชัดเจน

สามารถสรุปแบบสั้นๆ สำหรับขั้นตอนการทำรากเทียมในลักษณะนี้
จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ

พบทันตแพทย์ครั้งที่ 1: ปรึกษาวางแผน ทำการถ่ายเอกซเรย์ 3 มิติ (CT Scan) ทำการถอนฟัน และใส่รากเทียมพร้อมใส่ครอบฟันชั่วคราว โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

พบทันตแพทย์ครั้งที่ 2: รอระยะเวลาประมาณ 2 เดือนหลังจากการรักษาครั้งแรกเพื่อให้รากเทียมกับกระดูกสมานเป็นเนื้อเดียวกัน และทำการแสกนเพื่อทำครอบฟันตัวจริง

พบทันตแพทย์ครั้งที่ 3: ทำการใส่ครอบฟันตัวจริง ซึ่งจากในกรณีตัวอย่างเคสการฝังรากเทียมดังกล่าวนั้นคนไข้จะสามารถมีฟันชั่วคราวกลับบ้านได้ทันทีภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น และการรักษาจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมมีครอบฟันจริงภายใน 3 ครั้งเท่านั้น

 

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.