ทำรากเทียม แต่ กระดูกไม่พอ มีวิธีการปลูกกระดูกอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ต้องการทำรากเทียม แต่มีปริมาณ กระดูกไม่พอ จะสามารถทำรากเทียมได้หรือไม่ BFC Dental มีคำตอบมาให้ รวมถึงวิธีการปลูกกระดูกในเคสสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไปเป็นระยะเวลานาน

การสูญเสียฟันระยะยาว ทำให้ กระดูกฟันละลาย ไม่เพียงพอต่อการทำรากเทียม 

ธรรมชาติแล้วเมื่อฟันแท้ได้มีการหลุดไป หรือเกิดจากสาเหตุอื่นที่ทำให้ต้องถอนฟัน และปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้เข้ารับการรักษาด้วยการทดแทนฟันทันที จะทำให้กระดูกโดยรอบเกิดการละลายตัว นั่นจึงเป็นสาเหตุให้มีปริมาณกระดูกไม่พอที่จะสามารถรองรับในการฝังรากเทียมได้หากคนไข้ต้องการเข้ารับการทำรากเทียมในเวลาต่อมา

กระดูกไม่พอ ทำรากเทียมได้ ด้วยวิธีการปลูกกระดูก

การเติมกระดูก หรือ การปลูกกระดูก เป็นวิธีการเสริมกระดูกในบริเวณที่มีกระดูกไม่เพียงพอ เมื่อทันตแพทย์ได้ประเมินและตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียดแล้ว ก็จะมีวิธีในการเติมกระดูกที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย โดยเคสของคนไข้รายนี้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาการทำรากเทียมที่ BFC Dental ทันตแพทย์ได้เลือกใช้วิธีการเติมกระดูกฟันบนด้านหลัง หรือบริเวณฟันกรามน้อยไปจนถึงฟันกราม ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก เนื่องจากบริเวณนั้นจะมีโพรงอากาศ (Maxillary Sinus) หรือไซนัส ที่อยู่ใกล้รากฟันกราม ซึ่งคนไข้ในเคสนี้ได้มีการถอนฟันซี่ดังกล่าวเป็นเป็นระยะเวลานานจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกยุบตัวทำให้มีปริมาณกระดูกไม่พอต่อการทำรากเทียม เนื่องจากตำแหน่งจะมีการย้อยตัวของโพรงอากาศจากด้านบน ซึ่งจากรูป Before จะเห็นได้ว่าคนไข้มีกระดูกเหลือน้อย

กระดูกไม่พอ

เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาในขั้นแรกก่อนคือ การยกไซนัส (Sinus Lifting) ไปพร้อมกับการเติมกระดูก โดยมีขั้นตอนโดยการดันระดับของโพรอากาศขึ้นด้วยเครื่องมือพิเศษ

ไซนัสอยู่ตรงไหน? มีความสัมพันธ์อย่างไรกับฟัน

ไซนัส เป็นโพรงอากาศบริเวณใบหน้าและฐานของกะโหลกศีรษะติดกับช่องจมูก โดยไซนัสจะมีเยื่อบุบางๆ เหมือนเยื่อบุในช่องปากและต่อเป็นผืนเดียวกันทั้งจมูกและปาก

หลังจากผ่านขั้นตอนการยกไซนัสและเติมกระดูก รวมถึงการฝังรากเทียมด้วย สังเกตได้ทันทีจากรูป After ว่ากระดูกและไซนัสมีการยกระดับสูงขึ้น

ขั้นตอนต่อไปคือการรอให้กระดูกโดยรอบเข้ายึดแน่นสมานกับรากเทียม (Osseointegration) ซึ่งระยะเวลานการรอให้รากเทียมสมานกันต้องใช้ระยะเวลานานกว่าขั้นตอนอื่น โดยเคสคนไข้รายนี้ใช้เวลา 6 เดือนขึ้นไป จากนั้นทันตแพทย์จึงจะนัดคนไข้ให้เข้ามาใส่ครอบฟันบนรากเทียม ถือเป็นการสิ้นสุด

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.