เลือก All-on-4 หรือ 3 on 6? รากเทียมทั้งปาก แบบไหนคือคำตอบที่ใช่สำหรับคุณ
การสูญเสียฟันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว การหาทางแก้ไขที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญ หนึ่งในตัวเลือกที่ได้รับความนิยมและให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจคือ “รากเทียมทั้งปาก” ซึ่งช่วยให้ผู้ที่สูญเสียฟันกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสงสัยว่าเทคนิค All-on-4 และ 3 on 6 แตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนจะเหมาะกับตัวเองที่สุด
ก่อนจะไปถึงความแตกต่างของรากเทียมท้ังปาก All-on-4 และ 3 on 6 เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รากเทียมทั้งปากคืออะไร? รากเทียมทั้งปากเป็นวิธีการรักษาฟันที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปทั้งหมดในขากรรไกรบนหรือล่าง หรือทั้งขากรรไกรล่างและบน โดยจะมีการฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร เพื่อรองรับสะพานฟันแบบติดแน่น
ความแตกต่างระหว่างรากเทียมทั้งปาก All-on-4 และ 3 on 6
รากเทียมทั้งปาก All-on-4 เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกน้อย
All-on-4 เป็นเทคนิคการทำรากเทียมทั้งปากที่ใช้รากเทียมเพียง 4 ตัวในการรองรับสะพานฟัน 1 ชุด ยึดติดกันหมดเลย เทคนิคนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีปริมาณกระดูกขากรรไกรน้อย หรือมีกระดูกที่บางมาก ทำให้ในบางกรณีไม่ต้องทำการปลูกกระดูกเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการรักษาและค่าใช้จ่าย
โดยรากเทียมทั้ง 4 ตัว จะถูกฝังในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากฝังรากเทียมแล้ว ทันตแพทย์จะทำการใส่สะพานฟันแบบติดแน่น ทำให้คนไข้สามารถใช้งานฟันได้ตามปกติ
ข้อดีของรากเทียมทั้งปาก All-on-4
- ใช้รากเทียมน้อยเพียง 4 ตัว เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรน้อย
- ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฝังรากเทียมจำนวนมาก
ข้อเสียของรากเทียมทั้งปาก All-on-4
- การทำความสะอาดอาจทำได้ยากกว่ารากเทียมแบบแยกเป็นส่วนๆ
- การรับแรงกัดอาจไม่แข็งแรงเท่ากับเทคนิคที่ใช้จำนวนรากเทียมมากกว่า
- หากมีปัญหากับรากเทียม 1 ตัว อาจส่งผลกระทบต่อฟันทั้งชุด
รากเทียมทั้งปาก 3 on 6 ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีกระดูกเพียงพอ
3 on 6 เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำรากเทียมทั้งปาก ที่ใช้รากเทียม 6 ตัวในการรองรับฟันปลอม เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปริมาณกระดูกขากรรไกรเพียงพอ และต้องการความมั่นคงในการใช้งานฟันที่มากยิ่งขึ้น
รากเทียมทั้ง 6 ตัวใน 3 on 6 จะถูกฝังในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อรองรับฟันปลอมที่จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ทำให้การดูแลรักษาและทำความสะอาดฟันในระยะยาวทำได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ จำนวนรากเทียมที่เพิ่มขึ้นยังช่วยซัพพอร์ต และรองรับแรงบดเคี้ยวได้ดีกว่า ทำให้คนไข้สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมั่นใจ
ข้อดีของรากเทียมทั้งปาก 3 on 6
- รองรับแรงกัดได้ดีกว่า เนื่องจากใช้จำนวนรากเทียมมากขึ้น
- การทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่ายกว่า เพราะฟันแยกเป็น 3 ส่วน
- หากมีปัญหากับรากเทียมบางส่วน สามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้โดยไม่กระทบกับส่วนอื่นๆ
ข้อเสียของรากเทียมทั้งปาก 3 on 6
- ต้องมีกระดูกขากรรไกรที่เพียงพอสำหรับการฝังรากเทียม 6 ตัว
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่าเมื่อเทียบกับ All-on-4
ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรักษาไม่ว่าจะเป็น รากเทียมทั้งปาก 3 on 6 หรือ All-on-4 ก็ใช้เวลารักษาเท่า ๆ กัน เนื่องจากการรักษาทั้งสองแบบในขั้นตอนการใส่สะพานหลังฝังรากเทียมเสร็จทันทีจะเป็นการใส่สะพานฟัน 1 ชิ้นเหมือนกัน โดยจะมีการเปลี่ยนเป็นสะพานฟัน 3 ชิ้น (3 on 6) เมื่อมาเปลี่ยนเป็นสะพานฟันเซรามิกหลังฝังรากเทียมไปแล้ว 4-6 เดือน
ทำไมรากเทียมทั้งปากคือตัวเลือกที่ช่วยให้คุณกลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจ
- คืนความมั่นใจและคุณภาพชีวิต : การสูญเสียฟันทั้งปากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการเคี้ยวอาหาร การพูด หรือแม้แต่ความมั่นใจในการยิ้ม รากเทียมทั้งปากช่วยคืนรอยยิ้มและความสามารถเหล่านี้ให้กลับมาอีกครั้ง
- ช่วยรักษาสุขภาพของกระดูกขากรรไกร : เมื่อไม่มีฟัน กระดูกขากรรไกรจะค่อย ๆ เสื่อมสลาย แต่การฝังรากเทียมจะช่วยยึดให้กระดูกไม่สลายตัว และช่วยรักษาโครงสร้างของใบหน้าให้ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
- ใช้งานได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ทนทาน : ไม่ว่าจะเป็น All-on-4 หรือ 3 on 6 รากเทียมทั้งปากสามารถรองรับแรงกัดและเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหาการหลวมหลุดขณะใช้งาน
- ปรับปรุงสุขภาพช่องปากโดยรวม : ฟันปลอมแบบถอดได้อาจทำให้เกิดแผลกดทับและการติดเชื้อในช่องปากได้ง่ายกว่า ขณะที่รากเทียมจะยึดฟันปลอมให้ติดแน่นอย่างถาวรจึงช่วยลดปัญหาในระยะยาว
ทำรากเทียมทั้งปาก เลือกแบบไหนดี?
การเลือกระหว่าง All-on-4 และ 3 on 6 ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปาก ปริมาณกระดูก และความต้องการของแต่ละบุคคล โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและแนะนำเทคนิคที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
หากคุณสนใจทำรากเทียมทั้งปาก ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากทันตแพทย์ที่ BFC Dental เพื่อประเมินสภาพช่องปาก และกระดูกขากรรไกร เพื่อเลือกเทคนิคที่ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะการมีรากเทียมทั้งปากจะช่วยให้คุณกลับมามีฟันที่สวยงามและใช้งานได้ตามปกติ คุณจึงยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง