การทำ รากเทียมทั้งปาก ด้วยระบบ Digital

การทำ รากเทียมทั้งปาก มีนวัตกรรมสมัยใหม่ได้ก้าวสู่ยุค Digital แล้ว โดยเราสามารถออกแบบรูปแบบของฟัน และรอยยิ้มผ่าน Software โดยใช้เครื่อง Intraoral Scanner (เครื่องสำหรับใช้ในการสแกนฟัน หรือสแกนช่องปาก)

Intraoral Scanner

                          รากเทียมทั้งปาก

ตัวอย่างเคสการทำรากเทียมทั้งปาก (Full mouth rehabilitation):

รากเทียมทั้งปากรากเทียมทั้งปาก

ขั้นตอนการทำรากเทียมโดยหลักๆ เราจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ:

  1. การฝังรากเทียม
  2. การพิมพ์หรือสแกนเพื่อทำครอบฟัน
  3. การใส่ครอบฟัน

จากรูปดังกล่าว:

Figure 1:

คนไข้มาด้วยปัญหาคือไม่มีฟันบนที่สามารถเคี้ยวได้โดยคนไข้ได้ทำการใส่ฟันปลอมมาเป็นเวลาหลายปีแล้วแต่ฟันปลอมเริ่มหลวม และเสื่อมสภาพ อันดับแรกจะทำการถ่ายภาพ x-ray แบบ 2 และ 3 มิติ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนรักษา ซึ่งข้อดีของ x-ray 3 มิติ คือจะทำให้สามารถประเมินสภาพของกระดูก ตำแหน่งของเส้นประสาท และโพรงไซนัส (Sinus) ซึ่งจะสามารถทำให้เราวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำได้ ในกรณีเคสนี้มีการวางแผนใส่รากเทียมทั้งหมด 6 ตัว และทำการใส่ฟันทั้งหมด 10 ซี่ โดยมีการวางแผนที่จะเติมกระดูกเนื่องจากปริมาณกระดูกในหลายตำแหน่งมีไม่เพียงพอ

 

รากเทียมทั้งปาก

รากเทียมทั้งปาก

Figure 2:

ทำการผ่าตัดเพื่อใส่รากเทียมทั้งหมด 6 ตัว

Figure 3:

ทำการเจาะเลือดคนไข้ และนำเลือดไปปั่น (Centrifuge) เพื่อให้ได้ PRF (Platelet-rich fibrin) ซึ่งในตัวแผ่นจะมีสารที่เรียกว่า growth factor ซึ่งจะช่วยทำให้การหายตัวของแผลเร็วขึ้น และยังสามารถทำให้กระดูกที่เติมเข้าไปเกิดการรวมตัวเร็วขึ้น

Figure 4:

ทำการใส่ตัวผายเหงือก (Healing abutment) และทำการเย็บแผล หลังจากนั้นจะรอให้แผลหายรวมไปถึงการรอให้ร่างกายเกิดกระบวนการ osteointegration หรือรอเวลาเพื่อให้รากเทียมสมานกับกระดูกเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความแข็งแรงสูงสุด โดยกระบวนการทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน

Figure 5:

หลังจากแผลหาย และเกิดกระบวนการ osteointegration อย่างสมบูรณ์ ในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการต่อรากเทียมด้วย scan body คือตัวพิมพ์แบบ digital โดยเราสามารถใช้เครื่อง intraoral scanner หรือเครื่องสแกนฟันดิจิทัลโดยไม่ต้องมีการพิมพ์ปากแบบเก่า สำหรับตัว scan body จะสามารถบอกความสัมพันธ์ของตำแหน่งรากเทียมได้เพื่อจะใช้ในการนำไปต่อกับครอบฟันเทียมในขั้นตอนต่อไป

Figure 6:

ออกแบบสะพานฟันด้วยระบบดิจิทัลใน software เพื่อให้เห็นลักษณะ รูปร่างของฟัน รวมไปถึงการสบฟัน ซึ่งข้อดีคือจะทำให้เราสามารถเห็นผลลัพธ์ และยังช่วยลดขั้นตอนการแก้งานในช่องปากได้เนื่องจากปัจจัยทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ผ่าน software หรือที่เรียกกันว่า Computer-Aided-Design (CAD)

Figure 7:

ทำการผลิตสะพานฟัน โดยผ่านวิธีการกลึงตัดด้วยคอมพิวเตอร์ที่ทำการสั่งงานผ่านระบบ software ที่เราได้ออกแบบไว้ในตอนแรก ซึ่งขั้นตอนผลิตนี้เรียกว่า Computer-Aided-Manufacturing (CAM) โดยวัสดุที่ใช้จะเป็น monolithic zirconia ซึ่งเป็นวัสดุหนึ่งในกลุ่ม ceramic ที่มีคุณสมบัติเรื่องความแข็งแรงสูง สวยงาม และมีสีคล้ายฟันจริง

Figure 8:

ขั้นตอนนี้จะเป็นการทำการใส่สะพานฟัน และแก้การสบฟันโดยขั้นตอนทั้งหมดคนไข้สามารถมีฟันทั้งปากพร้อมใช้งานภายในระยะเวลาการรักษาไม่ถึง 3 เดือน โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ 330,000 บาท ซึ่งในแต่ละเคสจะมีราคาที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับสภาพกระดูกของคนไข้ ขั้นตอนการรักษาแบบสะพานฟันบนรากเทียมคนไข้จะสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ เนื่องจากว่าการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีลักษณะเป็นฟันติดแน่นเสมือนฟันธรรมชาติ และทำให้รอยยิ้มและคุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นแน่นอนรากเทียมทั้งปาก

    

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.