ผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว ทำ รากฟันเทียม ได้หรือไม่?

การทำ รากฟันเทียม เป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันแท้ เพื่อให้กลับมาใช้งานฟันได้มีประสิทธิภาพดังเดิม แต่ถ้ามีโรคประจำตัว จะฝังรากฟันเทียมได้หรือ?

รากฟันเทียม หน้าตาคล้ายสกรู ทำจากวัสดุไทเทเนียม จะถูกฝังลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อทำหน้าที่ยึดฟันปลอมแทนรากฟันจริง  ทำให้ฟันปลอมติดแน่น ไม่เลื่อนหลุด จึงสามารถใช้งานฟันได้เสมือนฟันแท้ โดยส่วนประกอบของรากฟันเทียมจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  • Screw หรือ Fixture ส่วนของรากฟันเทียมที่ฝังลงในกระดูกขากรรไกร ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นรากฟัน 
  • Abutment ส่วนยึดระหว่าง Implant body กับฟันปลอม
  • Crown หรือ Prosthetic component เป็นส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ หรือฟันปลอมที่จะมาทดแทนฟันแท้ เช่น ครอบฟัน สะพานฟัน และ ฟันปลอดถอดได้  

ด้วยลักษณะ และคุณสมบัติของรากฟันเทียมที่เอื้อต่อการใช้งาน จึงทำให้การฝังรากฟันเทียมเหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้บางซี่ หลายซี่ หรือทดแทนฟันแท้ทั้งปาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มักประสบปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง

รากฟันเทียม

ทุกคนสามารถทำ รากฟันเทียม ได้หรือไม่?
ถึงแม้การฝังรากฟันเทียมจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับผู้สูญเสียฟันแท้ทุกคน แต่ในบางกรณี ก็อาจจะรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ อันได้แก่

  • ผู้สูญเสียฟันแท้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • หญิงตั้งครรภ์ ต้องคลอดบุตรก่อน จึงจะฝังรากฟันเทียมได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ก็มีภาวะเสี่ยงที่จะฝังรากฟันเทียมไม่ได้

โรคประจำตัวที่มักพบในผู้สูงอายุ อาจมีผลกระทบต่อการทำ รากฟันเทียม
ในกรณีผู้ที่มีความเสี่ยงจะฝังรากฟันเทียมไม่ได้ หรือมีโอกาสสำเร็จต่ำ ได้แก่ 

  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดรุนแรง ไม่สามารถควบคุมได้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้แผลหายช้า เสี่ยงต่อการอักเสบ และติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะถึงคอ ต้องเข้ารับการฉายแสง บริเวณที่ได้รับรังสี จะเกิดภาวะเซลล์กระดูกน้อย จึงไม่เหมาะที่จะทำรากฟันเทียม
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุน มวลกระดูกน้อย กระดูกเปราะบาง แตกหักง่าย มีโอกาสสูงที่จะฝังรากฟันเทียมไม่สำเร็จ
    แต่ทั้งนี้ ใช่ว่าผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวทุกคนจะไม่สามารถฝังรากฟันเทียมได้เลย เพราะว่าบางกรณีก็สามารถทำได้ ดังนี้

 ในกรณีผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานชนิดไม่รุนแรง โรคความดัน โรคหัวใจ เป็นต้น ก่อนคนไข้จะเข้ารับการรักษา ทันตแพทย์จะตรวจสอบประวัติของคนไข้โดยละเอียดก่อน จึงไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวจะไม่สามารถทำรากฟันเทียมได้ แต่คนไข้ที่มีโรคประจำตัวจะต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของโรคประจำตัวที่รักษาอยู่ แจ้งความประสงค์ว่าจะเข้ารับการรักษารากเทียม สอบถามให้ชัดเจนว่าจำเป็นต้องหยุดยาที่ทานประจำหรือไม่ ดังนั้น การทำรากฟันเทียมกับผู้ที่มีโรคประจำตัว จึงจำเป็นต้องมีทั้งแพทย์ประจำโรคและทันตแพทย์ดูแลคนไข้ทั้งก่อนเข้ารับการรักษาและระหว่างการรักษา เพื่อความปลอดภัยและได้รับคำแนะนำถึงข้อปฏิบัติที่คนไข้ควรทำอย่างถูกต้อง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การทำรากฟันเทียม หรือขอเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ได้เลยที่ BFC Dental ทุกสาขา

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.