Q&A ไขข้อสงสัยให้กระจ่างเกี่ยวกับ รากเทียมทั้งปาก ด้วยระบบดิจิทัล

หลายคนที่ยังลังเลหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำ รากเทียมทั้งปาก ด้วยระบบดิจิทัล ทำให้ยังไม่ตัดสินใจทำ วันนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยให้กระจ่าง เพื่อให้คุณตัดสินใจทำรากเทียมได้ง่ายขึ้นกัน!

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการทำรากเทียมทั้งปาก ด้วยระบบดิจิทัล

รากเทียมทั้งปาก

Q : ใช้เวลานานแค่ไหน กว่าจะทำรากเทียมทั้งปากเสร็จจนได้ฟันใหม่?

A : การทำรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัล สามารถทำให้คุณกลับมามีฟันครบทุกซี่ได้ภายในระยะเวลาแค่ 7 วันเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากคนไข้เข้าพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ ตรวจช่องปาก ทำเอกซเรย์ 3 มิติ (CT Scan) และเอกซเรย์ช่องปากโดยละเอียด เพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งการฝังรากเทียมได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนต่อมา คือ การผ่าตัดฝังรากเทียมทั้งปาก ตามจำนวนที่ได้วางแผนไว้ โดยใช้ไกด์ผ่าตัดแบบ 3 มิติ ทำให้มีความแม่นยำสูง และเสร็จได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ หากคนไข้ที่มีกระดูกน้อยจะมีเทคนิคการเติมกระดูกร่วมด้วย ต่อจากนั้น 7 วันหลังจากฝังรากเทียมเสร็จเรียบร้อย ทันตแพทย์จะทำการใส่สะพานฟันอะคริลิก คนไข้จึงกลับมามีฟันครบทุกซี่ได้อีกครั้ง

 

Q : การฝังรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัล ลดข้อผิดพลาดในการรักษาได้อย่าง?

A : การฝังรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัล เป็นการนำเอาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ระบบ 3 มิติ ที่เป็น Digital guide หรือไกด์ผ่าตัด เข้ามาช่วยในการกำหนดตำแหน่งในการฝังรากเทียม และขนาดของรากเทียมที่จะฝังลงไป โดยคุณหมอจะดูควบคู่กับผล CT Scan หรือภาพเอกซเรย์ 3 มิติ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพราะตัว CT Scan จะโชว์ให้เห็นปริมาณกระดูกที่เหลืออยู่ ทำให้ทราบว่ามีกระดูกเพียงพอสำหรับรากเทียมหรือไม่ หรือต้องเติมกระดูกปริมาณเท่าไหร่ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการวางแผนการผ่าตัด ที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ และลดข้อผิดพลาดในการรักษาได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการฝังรากเทียมแบบปกติ รวมไปถึง ทำให้การผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

Q : ฝังรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัล จะเจ็บและใช้เวลาพักฟื้นนานหรือไม่?

A : การผ่าตัดฝังรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัล แผลผ่าตัดค่อนข้างเล็ก และเจ็บน้อยกว่าแบบปกติ เนื่องจากมีการวางแผนและวางตำแหน่งฝังรากเทียมอย่างแม่นยำด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ระบบ 3 มิติ รวมทั้งใช้ไกด์ผ่าตัดแบบ 3 มิติ จึงช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด อีกทั้งไม่ต้องผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อฝังรากเทียมเหมือนการฝังรากเทียมปกติ เมื่อแผลผ่าตัดเล็กทำให้อาการบาดเจ็บหลังผ่าตัดลดลง และใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน

 

Q : ฟันใหม่ที่ได้จากการทำรากเทียมทั้งปากจะดูโป๊ะ ไม่เป็นธรรมชาติหรือไม่?

A : ฟันใหม่ หรือสะพานที่จะใส่หลังฝังรากเทียมทั้งปากเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นมีให้เลือกหลายแบบ โดย สะพานฟัน PMMA Restoration ทำจากวัสดุ Poly Methyl Methacrylate (PMMA) คือสะพานฟันชั่วคราวที่คุณหมอสามารถใส่ให้ได้ 7 วันหลังฝังรากเทียม หลังจากนั้นหากต้องการเปลี่ยนเป็นสะพานฟัน Multilayer Zirconia ต้องรอ 6-12 เดือนก่อนถึงจะเปลี่ยนได้ ซึ่งสะพานฟัน Zirconia เป็นวัสดุเซรามิก ที่มีความแข็งแรง ทนทาน โปร่งแสง ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากกว่า ดูแลทำความสะอาดง่ายกว่า มีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานกว่า ฟันใหม่ที่ได้จึงมีความใกล้เคียงฟันธรรมชาติ ดูไม่โป๊ะอย่างแน่นอน ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบสะพานฟันให้คนไข้นั้น จะใช้ Intraoral Scanner : Medit i500 สแกนฟันระบบดิจิทัล เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ อีกทั้งจะทำแกนบนรากฟันเทียมแบบ Customized Abutments เพื่อให้เหมาะกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้แต่ละคน ทั้งนี้ในการออกแบบสะพาน ฟัน คุณหมอจะออกแบบสะพานฟันในระบบคอมพิวเตอร์ก่อน ทำให้เห็นภาพสะพานฟันก่อนใส่ให้คนไข้ผ่าน Software หรือ Computer-Aided-Design (CAD) จึงเห็นลักษณะ รูปร่างของฟัน รวมไปถึงการสบฟันได้

การตอบคำถามเกี่ยวกับรากเทียมทั้งปาก ด้วยระบบดิจิทัล น่าจะทำให้คุณตัดสินใจทำรากเทียมได้ง่ายขึ้น เพื่อให้คุณกลับมาใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง เราเชื่อว่าการทำรากเทียมทั้งปากด้วยระบบดิจิทัลคือทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.